top of page

บทที่ 6 การตอบสนองของพืช
การตอบสนองของพืช (อังกฤษ: plant perception หรือ plant response) คือ การตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้าภายนอกและสิ่งเร้าภายใน เป็นกลไกที่เกิดขึ้นจากการทำงานของฮอร์โมนพืชหรือกลไกต่าง ๆ ของเซลล์ทำให้พืชเกิดการเคลื่อนไหว
สิ่งเร้า (Stimulus) คือ สิ่งที่ส่งผลหรือมีอิทธิผลต่อการตอบสนองของพืช ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่ม คือ สิ่งเร้าจากภายนอก และ สิ่งเร้าจากภายใน การตอบสนองของพืชในลักษณะที่แตกต่างกันไปก็มีปัจจัยมาจากสิ่งเร้าเหล่านี้ เป็นต้นว่า
-
ระยะเวลาที่ใช้ในการกระตุ้นของสิ่งเร้า เช่น ไม่กี่นาทีหรือยาวนานหลายชั่วโมง
-
อายุและชนิดเซลล์ที่หน่วยรับความรู้สึก (receptor)
-
ปริมาณหรือความเข้มข้นของสิ่งเร้า
ทั้งนี้การตอบสนองอาจเกิดแบบย้อนกลับได้ หรือ ย้อนกลับไม่ได้
เติบโตสิ่งเร้าภายใน
สิ่งเร้าจากภายใน (Internal Stimulator) เช่น ฮอร์โมน และพันธุกรรม โดยฮอร์โมนพืชเป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ตัวอย่างเช่น ออกซิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งผลิตอยู่บริเวณปลายรากและปลายยอด จะกระตุ้นการเจริญเติบโตของยอดพืช แต่ยับยั้งการเจริญเติบโตของราก ออกซินจะถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอกอีกทีหนึ่งคือแสงและแรงดึงดูดของโลก
การตอบสนองมีหลายประเภทได้แก่
-
การเคลื่อนไหว ซึ่งจะมีบริเวณ/โครงสร้างที่เกิดการเคลื่อนไหว และทิศทางของการเคลื่อนไหวแตกต่างกันไป
-
การปล่อยสารเคมี
-
การเปลี่ยนแปลงลักษณะของเนื้อเยื่อ
การเคลื่อนไหวที่มีทิศทางสัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า หรือการเบน (Tropism) สามารถแบ่งได้หลายอย่างตามชนิดของสิ่งเร้า
bottom of page